เจนภพ จบกระบวนวรรณ
เจนภพ จบกระบวนวรรณ | |
---|---|
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | สันติภพ เจนกระบวนหัด |
ชื่ออื่น | น้อย, ภพ |
เกิด | 21 เมษายน พ.ศ. 2498 จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย |
บิดา | พันเอก (พิเศษ) เจนหัด เจนกระบวนหัด |
มารดา | กุสุมา เจนกระบวนหัด (สมถวิล คงพิบูลย์) |
คู่สมรส | สุขสม เจนกระบวนหัด |
บุตร | 2 คน |
อาชีพ | นักวิชาการ, นักเขียน, นักประวัติศาสตร์, นักจัดรายการวิทยุ, นักจัดรายการโทรทัศน์, นักประพันธ์เพลง, โปรดิวเซอร์เพลง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2517- ปัจจุบัน |
เจนภพ จบกระบวนวรรณ (เกิด 21 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักจดหมายเหตุ นักวิชาการเพลงไทยลูกทุ่งชาย นักจัดรายการวิทยุ - โทรทัศน์ชาวไทย เป็นผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง สถานีวิทยุเสียงศิลปิน 105.25 FMz สถาบันวิชาไทย และเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เจนภพเป็นปูชนียบุคคลเกียรติยศที่สำคัญทางด้านเพลงลูกทุ่ง และวงการสื่อสารมวลชน ถือเป็นบุคคลสำคัญในการรื้อฟื้นและบุกเบิกเพลงไทยลูกทุ่งในวิทยุให้กลับมานิยมอีกครั้งในยุค จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กำลังได้รับความนิยมสูงสุด ในปี พ.ศ. 2529 - 2530
เจนภพ จบกระบวนวรรณ ได้รับพระราชทานสมญานามจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เป็น "โฆษกลูกทุ่ง" เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 และยังได้รับฉายาจากประชาชนเป็น "เจ้าพ่อเสื้อลายดอก"
ประวัติ
[แก้]เจนภพมีชื่อจริงว่า สันติภพ เจนกระบวนหัด เกิดวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2498 เป็นบุตรของ พันเอก (พิเศษ) เจนหัด เจนกระบวนหัด พ่อเป็น ฅนคลองข่อย หรือ คลองพระอุดม อำเภอปากเกร็ด นนทบุรี กับนางสมถวิล (หรือกุสุมา) เจนกระบวนหัด (สกุลเดิม คงพิบูลย์) เป็น แม่ค้าขายหนังสือ เป็น สาวนครชัยศรี นครปฐม น้องชายชื่อ นายจักรพงษ์ เจนกระบวนหัด[1]
การศึกษา
[แก้]- เริ่มเรียนคำว่า ก.ไก่ ก.กา ที่หน้าค่ายเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี กับคุณครูชาวบ้านใกล้ ๆ บ้านพักนายทหาร
- ประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 ศึกษาที่โรงเรียนรัตโนภาส จังหวัดนครราชสีมา
- ประถมศึกษาปีที่ 7 เทอมต้น ที่โรงเรียนรัตโนภาส จังหวัดนครราชสีมา
- ประถมศึกษาปีที่ 7 เทอมกลาง ศึกษาที่โรงเรียนรวมมิตรวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
- ประถมศึกษาปีที่ 7 เทอมปลาย ศึกษาที่โรงเรียนวัดแค (ภัทรญาณวิทยา) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- มัธยมศึกษาตอนต้น ศึกษาที่โรงเรียนงิ้วรายบุญมีรังสฤษฎิ์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- มัธยมศึกษาตอนปลาย ศึกษาที่โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
- อุดมศึกษาที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ[2]
เข้าสู่วงการ
[แก้]สันติภพเริ่มต้นเขียนหนังสือเล่มแรกโดยการเขียนวิจารณ์วารสารดำรง (คอลัมน์วิจารณ์หนังสือ) ของหนังสือพิมพ์ประชาชาติรายวัน เมื่อปี พ.ศ. 2517 ทำให้เขาเริ่มเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปในชื่อนามปากกา "เจนภพ จบกระบวนวรรณ" งานเขียนมีทั้งบทวิจารณ์ , สารคดี , บทกวี , บทสัมภาษณ์ , เรื่องสั้น , คอลัมนิสต์ ส่วนใหญ่ที่เขียนที่ทำมาเป็นงานด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านพื้นเมือง มหรสพไทยและเพลงภาพยนตร์ไทย ลูกทุ่ง (ร่วมสมัย) เป็นต้น โดยบางครั้งใช้นามปากกาในการเขียนว่า "นิจ ศุภสาคร" ช่วงที่เรียนปี 2 และปีที่ 3 ทำงานพิเศษตรวจผลงานต้นฉบับและพิสูจน์อักษรที่โรงพิมพ์พิฆเนศและนิตยสารแมน ของพจนาถ เกศจินดา ช่วงเรียนปีที่ 4 ทำงานที่โรงพิมพ์เรือนแก้ว ของสุจิตต์ วงษ์เทศ จากคนพิสูจน์อักษรจนได้เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการในสำนักพิมพ์ต่างๆ เช่น สำนักพิมพ์การเวก , นิตยสารเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรม, นิตยสารเดินทางท่องเที่ยว , นิตยสารภรรยา , นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นบรรณาธิการบริหารของสำนักพิมพ์วิทวัส และสำนักพิมพ์เอเซีย รวมถึงยังเป็นคอลัมน์นิสต์ประจำหนังสือพิมพ์อีกหลายฉบับ เช่น ประชาชาติรายวัน , ประชาธิปไตยรายวัน , สยามรัฐรายวัน , เสียงปวงชนรายวัน , อาทิตย์รายสัปดาห์ , มติชนรายสัปดาห์ , ชาวกรุง , คุรุปริทัศน์ , ถนนดนตรี , สยามดารารายวัน และยังเป็นผู้ก่อตั้งเพื่อนนักเขียนสตูดิโออีกด้วย[2]
ชีวิตครอบครัว
[แก้]สมรสกับ สุขสม (พลชัย) เจนกระบวนหัด มีบุตรชาย 2 คน คือ ธรรมภพ เจนกระบวนหัด และ พิพิธภัณฑ์ เจนกระบวนหัด[1]
การงานช่วงกลาง
[แก้]- ที่ปรึกษาศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ พ.ศ.2522 - ปัจจุบัน
- เริ่มจัดรายการวิทยุครั้งแรก รายการ "อมตะเพลงลูกทุ่ง" ออกอากาศวันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบกยานเกราะ ศูนย์การทหารม้า เอเอ็ม 540 กีโลเฮิรซ์ เวลา 16.00 - 17.00 น.
- เริ่มจัดรายการภาคเอฟเอ็มครั้งแรกในรายการ "อมตะเพลงไทย" ออกอากาศวันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงเสียงจากทหารเรือ เอฟเอ็ม 88.5 เมกะเฮิรซ์ เวลา 8.00 - 9.00 น. จัดให้แก่ บริษัทบางกอกคาสเส็ท จำกัด ซึ่งต่อมาในภายหลังคือบริษัท แม่ไม้เพลงไทย
- ต่อมารายการ ข้าวเกรียบเพลงเก่า ภาคเอเอ็มให้ บริษัท วิทยาศรม จำกัด และยังเคยจัดรายการวิทยุศึกษานอกโรงเรียน
- ทำรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ชื่อรายการ "พิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง" ให้การศึกษานอกโรงเรียน
- ได้รับตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ให้ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ หรือ บริษัทแกรมมี่ เอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ยุคแรก)
- จัดรายการข้าวเกรียบเพลงเก่า (ภาคดึก) ภาคเอฟเอ็มให้ เอไทม์มีเดีย (บริษัทในเครือของ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
- จัดรายการ "ข้าวเม่าเพลงไทย" ภาคต่างจังหวัด (ออกอากาศที่ จังหวัดชลบุรี) ให้เอไทม์มีเดีย
- จัดรายการ "สรรพสังคีต" ออกอากาศกว่า 50 จังหวัด ภาคเอเอ็มให้ ธนาคารกรุงเทพ
- จัดรายการเวทีวาทะศิลป์วัฒนธรรม เป็นรายการสนทนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกองทัพบก กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และสถานีวิทยุกระจายเสียงทหารอากาศ ทุ่งมหาเมฆ ออกอากาศผ่านดาวเทียมไปยังหลายจังหวัด และยังเคยจัดรายการเพลงลูกทุ่งให้ บริษัท มีเดียพลัส
- จัดรายการให้ บริษัท ดอกบัวคู่ จำกัด ออกอากาศทั่วประเทศ จัดรายการให้ ยาหม่องเมนโทลาทัม ออกอากาศที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
- จัดรายการ "บางระจันมัลติเพล็กส์" ออกอากาศที่ จังหวัดสิงห์บุรี
- จัดรายการโทรทัศน์รายการ "หมอเพลงเจนภพ" ทางช่อง 7 สี หลังเคารพธงชาติ ออกอากาศไม่เกิน 5 นาที
- เป็นวิทยากรรับเชิญในรายการ "ทีวีวาที" ของ กรรณิกา ธรรมเกษร ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.
- วิทยากรรับเชิญในรายการ "อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย" หลายปีซ้อน
- คณะกรรมการตัดสิน ในช่วงเสียงดีมีค่าเทอม ในรายการชิงช้าสวรรค์ ให้กับ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ทางช่องโมเดิร์นไนน์ทีวี
การงานปัจจุบัน
[แก้]- เป็นผู้อำนวยการสถานีวิทยุเสียงศิลปิน FM 105.25 Mhz และ เป็นผู้อำนวยการสถาบันวิชาไทย
- เป็นพิธีกรในรายการ ลูกทุ่ง ท.ท.บ.5 ออกอากาศทางช่อง 5 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 18.00 - 19.00 น. (ปัจจุบันไม่มีรายการแล้ว)
- เขียนคอลัมน์หนังสือพิมพ์บันเทิงรายวัน สยามดารา ในคอลัมน์ชื่อ "ข้าวเกรียบลูกทุ่ง" (ยกเว้นวันอาทิตย์)
- เป็นที่ปรึกษา บริษัทบางกอกคาสเส็ท หรือ (บริษัท แม่ไม้เพลงไทย)
- เป็นผู้บริหารสายงานเพลงลูกทุ่งของ บริษัท บีบี.เรคคอร์ด จำกัด
- เป็นพิธีกรรายการ "สังคีตสราญรมย์" ของ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ จัดที่ สถาบันคึกฤทธิ์
- เป็นพิธีกรรายการ "มนต์เพลงลูกทุ่ง" ของ ช่อง 10 เพลินทีวี ทุกวัน เวลา : 01.30 น. / 09.00 น. / 12.30 น. / 16.00 น. / 19.00 น. / 23.00 น.
ชื่อเสียงและความสำเร็จ
[แก้]- ด้านเขียนหนังสือ เป็นพ็อคเก๊ตบุคเรื่อง "ยี่เก จากดอกดินถึงหอมหวล" ของสำนักพิมพ์การะเกด ได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสารคดีชีวิตศิลปินชาวบ้าน(ลิเก)ที่ดีที่สุด
- ด้านเขียนหนังสือคอลัมน์ พิพิธภัณฑ์เพลงลูกทุ่ง ตีพิมพ์ที่สยามรัฐรายวัน ได้รับการอ้างถึงว่าเป็นงานเขียนเรื่องราววงการเพลงที่เป็นระบบที่ดีที่สุดและนำมาซึ่งงานเกียรติยศอันครั้งใหญ่นั่นคืองานคอนเสิร์ต "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาคที่ 1" วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2532 และภาคที่ 2 ในปี พ.ศ. 2534 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- และยังเขียนนวนิยายเรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง ฉบับสมบูรณ์มากที่สุดที่ได้รับการดัดแปลงจาบทภาพยนตร์ ของครู รังสี ทัศนพยัคฆ์
- เจนภพ จบกระบวนวรรณ ยังถือเป็นผู้บุกเบิกวงการเพลงไทยลูกทุ่ง ในรายการ "อมตะเพลงไทย" จากทางสถานีวิทยุกระจายเสียงเสียงจากทหารเรือ เอฟเอ็ม 88.5 เมกะเฮิรตซ์ สร้างชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่งให้กลายเป็นนักจัดรายการวิทยุเพลงลูกทุ่งชื่อดังจนถึงปัจจุบัน จนได้รับรางวัล "สายฟ้าทองคำดีเด่น" เป็นคนแรกของวงการเพลงลูกทุ่ง กลายเป็นต้นแบบของรายการเพลงจนปัจจุบันนี้ และยังเป็นผู้บุกเบิกรายการ "รายการบุปผาสวรรค์ ชุมชนคนรักเพลงลูกทุ่ง 24 ชั่วโมง" ทางสถานีวิทยุเพลงลูกทุ่งแห่งแรกของประเทศไทยในนามลูกทุ่งเอฟเอ็ม ร่วมกับคุณ วิทยา ศุภพรโอภาส ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ.2540 ให้กับ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ทางช่อง ท.ท.บ.5
- เคยตั้งวงดนตรีชื่อว่า ลูกทุ่งพันทาง ร่วมกับ ชาย เมืองสิงห์ ศิลปินแห่งชาติ และ กังวาลไพร ลูกเพชร อีกด้วย
- ประพันธ์เพลง รักจริงให้ติงนัง,รักหนีที่เซเว่น รุ่ง สุริยา ,ใจแตกที่แมคโดนัลด์ สุนารี ราชสีมา , คนร่วมชายคา ผ่องศรี วรนุช ฯลฯ สร้างชื่อที่สุด
- ด้านพิธีกรบนเวที งานเขียนบทกำกับการแสดงงาน "กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย" เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2532 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย คืองานสร้างชื่อมากที่สุด และเป็นงานที่วงการเพลงไทยลูกทุ่งภาคภูมิใจมากที่สุดเพราะ "เจนภพ" พลิกฟื้นคืนชีพให้เพลงลูกทุ่งกลับมายิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง และเป็นงานหน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ครั้งแรก
ผลงานทางด้านการแสดงภาพยนตร์
[แก้]- ภาพยนตร์เรื่อง สิงห์คนองนา (สร้างโดย วิสันต์ สันติสุชา) พ.ศ. 2539
- ภาพยนตร์เรื่อง เสือ โจรพันธุ์เสือ (นำแสดงโดย อำพล ลำพูน) พ.ศ. 2541
- ภาพยนตร์เรื่อง มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม (ภาพยนตร์โดย บัณฑิต ทองดี) พ.ศ. 2544
- ภาพยนตร์เรื่อง เจ้าแม่สร้อยดอกหมาก (ภาพยนตร์โดย ไพจิตร ศุภวารี)
ผลงานทางด้านการแสดงละคร
[แก้]- ละครเรื่อง อยู่กับก๋ง ออกอากาศทางช่อง 3
- ละครเรื่อง โอ้มาดา ออกอากาศทางช่อง 7
- ละครเรื่อง พ่อ ตอน เพลงของพ่อ ออกอากาศทางช่อง 5
- ละครเรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง ออกอากาศทางช่อง 7 (2538)
- ละครเรื่อง จิตสังหาร ออกอากาศทางช่อง 7
- ละครเรื่อง หัวใจไกลปืนเที่ยง ออกอากาศทางช่อง 7
- ละครเรื่อง ชะชะช่า ท้ารัก ออกอากาศทางช่อง 7
- ละครเรื่อง ฟ้ากระจ่างดาว ออกอากาศทางช่อง 7
- ละครเทิดพระเกียรติเรื่อง ตอน ใครมาซื้อที่ ออกอากาศวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทางช่อง 7
ผลงานทางด้านเขียนหนังสือ
[แก้]- จุ๊บแจง
- เก้าอี้ไม้ไผ่
- มนต์รักลูกทุ่ง
- ออกลิงออกค่าง
- "ยี่เก" จากดอกดิน ถึง หอมหวน
- ดวลเพลงกลางทุ่ง ร่วมเขียนกับ เอนก นาวิกมูล , สุกรี เจริญสุข , พูนพิศ อมาตยกุล , นพีสี นิมมานเหมินทร์
- สุพรรณฝันหวาน ร่วมเขียนกับ สุจิตต์ วงษ์เทศ , เอนก นาวิกมูล , มนัส โอภากุล , ทวี วัดงาม
- บางข้อเขียน เกี่ยวกับ "สุรพล สมบัติเจริญ"
- คนไทยขี้เล่น
- ทางม้าลายกับสะพานลอย
- มหรสพพื้นบ้าน
- เพลงลูกทุ่ง
- หมายเหตุความจงรักภักดี
ผลงานเพลงที่ประพันธ์ และ ขับร้องเอง
[แก้]- 1. อาลัยลั่นทม (เพลงประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- 2. บ้านเก่า (เพลงประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- 3. ชีวิตกลางเปลวแดด (เพลงประจำคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)
- 4. มาร์ชศุภวรรณ (เพลงประจำโรงเรียนศุภวรรณ จรัญสนิทวงศ์ 22 บางกอกน้อย กทม.)
- 5. รำวงศุภวรรณ (เพลงประจำโรงเรียนศุภวรรณ จรัญสนิทวงศ์ 22 บางกอกน้อย กทม.)
- 6. รำวงลูกทุ่งเอฟเอ็ม (เพลงประจำคลื่นวิทยุฯ ลูกทุ่งเอฟเอ็ม 95.0 MHz)
- 7. มาร์ชเสียงศิลปิน (เพลงประจำสถานีวิทยุเสียงศิลปิน 105.25 MHz และเป็นเพลงมาร์ชของวงดนตรีเสียงศิลปิน)
- 1. จรกาครวญ (เจนภพ จบกระบวนวรรณ / นุกูล พูลสวัสดิ์ /สุชาติ ธูปเงิน)
- 2. อย่างนี้ต้องโดนใบสั่ง (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 3. หัวอกแท็กซี่มิเตอร์ (เจนภพ จบกระบวนวรรณ / แสนรัก ดาวเรือง)
- 4. ด้วยรักและศรัทธา (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 5. หนุ่มสุพรรณครวญเพลง (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 6. เมืองไทยของเรา (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 7. คนเชยๆ (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 8. ไม่มีน้ำตาที่ท่าฉลอม (เจนภพ จบกระบวนวรรณ / หมู ตะวัน นุตะศรินทร์)
- 9. สงกรานต์โป๊งชึ่ง (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 10. ปิดบัญชีรัก (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 11. คนร่วมชายคา (เจนภพ จบกระบวนวรรณ / ลัดดา จันทร์เสน่ห์ / ผ่องศรี วรนุช / คัทลียา มาศรี / ก๊อต จักรพรรณ์
- 12. หนุ่มโปร่งใส (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 13.เสี่ยงจากสวรรค์ทอง (สวรรค์ทอง ชัยสมบัติ / เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 14.หัวใจโครงการ 1 (สวรรค์ทอง ชัยสมบัติ)
- 15.เบญจวีระสตรีไทย (ผ่องศรี วรนุช)
- 16.เสียดายน้ำตาเหมือนยาสระผม (ผ่องศรี วรนุช)
- 17.นางพญาเหยี่ยบเมือง (เพลิน พรหมแดน)
- 18.นิราศรักนครชัยศรี (สดใส รุ่งโพธิ์ทอง)
- 19.เสน่ห์ลูกทุ่ง (รุ่ง โพธาราม)
- 20.แก้วตามาลี (สุขสันต์ วันสว่าง)
- 21.จริงใจเป็นรายวัน (อัสนี เสรภูมิ)
- 22.จิ๊กโก๋อกหัก (ยินดี จิตตั้งตรง)
- 23.สาวขอนแก่นสวยที่สุด (รักชาติ ศิริชัย)
- 24.คนดีสีไพร (เล็ก อินทรีย์)
- 25.ตะลิงปลิงคนสวย (แสนรัก ดาวเรือง)
- 26.รักสาวฝาแฝด (เสกสรรค์ แจกันทอง)
- 27.ผมลืมหัวใจไว้ในแท๊กซี่ (คมศร นครคีรี)
- 28.เสี่ยเหงื่อดีกว่า (แสนพัน สวรรค์พร + สิบแสน แดนตาคลี + รัตน์ สวัสดี + ชิตณรงค์ ไผ่ทอง + เพชร พลับพลาชัย)
- 29.เสน่ห์สาวร้องกวาง (รุ่ง สุริยา)
- 30.เจ็บเพียงริมใจ (โรม ศรีธรรมราช / รักษ์ ไพรวัลย์ / สุชาติ ธูปเงิน)
- 31.ดำหน่อยอร่อยดี (รุ่งเรือง เมืองย่าโม)
- 32.โป๊ะล่ม (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 33.คำสั่งพระเจ้าตาก (กังวานไพร ลูกเพชร)
- 34.รู้ไหมใครรอ (จีรพันธ์ วีระพงษ์)
- 35.หนาวนี้พี่หนาว (รังษี เสรีชัย)
- 36.บูชาครู (สถาพร พรโสภา)
- 37.เทพีบางมัญ (บัญชา ศิษย์หอมหวล / เอกรัช สวัสดี)
- 38.ยิ้มเพชฌฆาต (บี๋ ณ สีมา / คมศร นครคีรี)
- 39.ลูกทุ่งร้องทุกข์ (ชาย เมืองสิงห์ + กังวานไพร ลูกเพชร + เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 40.แม่ลาการ้อง (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 41.ชมรมคนกลัวเมีย (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 42.แม่บัวใบบาง (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 43.ไอ้หนุ่มสิงห์คะนองนา (กังวานไพร ลูกเพชร)
- 44.น้ำตาคาราโอเกะ (กังวานไพร ลูกเพชร)
- 45.หัวใจกบดาน (พงษ์พันธุ์ วงศ์กำภู / ยอดรัก สลักใจ)
- 46.สาวมิสทีน (ขวัญใจ ไมตรี)
- 47.ไอ เลิฟ ยู (ขวัญใจ ไมตรี)
- 48.อ.ส.ม.รอรัก (ขวัญใจ คุณาพร / คมศร นครคีรี + สุชาติ ธูปเงิน + กิ๊ฟ ฌาณุพงษ์ + นพ นิติพันธ์)
- 49.แม่ลาตาหวาน (จอมขวัญ กัลยา)
- 50.ฉันเป็นคนเจ็บ (จอมขวัญ กัลยา)
- 51.เข็ดแล้วพระลอ (จอมขวัญ กัลยา)
- 52.วอนนายกฯ ชวน (จอมขวัญ กัลยา)
- 53.ชมรมคนใจดี (จอมขวัญ กัลยา)
- 54.ตี่จับ (จอมขวัญ กัลยา)
- 55.โจ๊ะถีดทิง (ลัดดาวรรณ จันทร์เสน่ห์ / เทวี ศรีสระแก้ว)
- 56.ยิ้มนิดยิ้มหน่อย (เทวี ศรีสะแก้ว)
- 57.ผิดคำสาบาน (นพรัตน์ ไม้หอม)
- 58.รักคนคิ้วโก่ง (บี๋ ยอดสุริยันต์)
- 59.เจ้าชู้หลบใน (บี๋ ยอดสุริยันต์)
- 60.แห้ว (สัมฤทธิ์ ศรีพิมาย / บี๋ ยอดสุริยันต์)
- 61.สวยเกินห้ามใจ (บี๋ ยอดสุริยันต์)
- 62.ดอกไม้ไร้แจกัน (ปู ชุลีพร)
- 63.ฟ้าผ่าบางแสน (วัฒนา อนันต์)
- 64.อยากมีลูกสาว (สุขสันต์ วันสว่าง)
- 65.ขวัญใจแอมเวย์ (แสนรัก ดาวเรือง)
- 66.อยากหยุดเวลาเพื่อมารักเธอ (แสนรัก ดาวเรือง)
- 67.ไก่ เคเอฟซี (แสนรัก ดาวเรือง)
- 68.ผมถูกกล่าวหา (แสนรัก ดาวเรือง)
- 69.กำพร้ากำพลอย (สัมฤทธิ์ ศรีพิมาย)
- 70.สองนคร (เสกสรรค์ แจกันทอง)
- 71.ตามหาโสภา (เสกสรรค์ แจกันทอง)
- 72.เสกสรรค์วอนแฟน (เสกสรรค์ แจกันทอง)
- 73.ขันหมากเป็นหมัน (เสกสรรค์ แจกันทอง)
- 74.รักเชยๆ (เสกสรรค์ แจกันทอง)
- 75.เจ้าตัวเล็ก (เสกสรรค์ แจกันทอง)
- 76.เถ้าแก่อกหัก (เสกสรรค์ แจกันทอง)
- 77.อย่ากลัวจน (สมมาส ราชสีมา)
- 78.เจ็บแล้วเจ็บเล่า (เอ๋ พจนา)
- 79.สัญญาหน้าหลอดไฟ (เอ๋ พจนา)
- 80.คนกินเจ (โอ๊ต วรนนท์)
- 81.ใจนี้เพื่อ จ. (โอ๊ต วรนนท์)
- 82.วิมานบ้านนอก (คมศร นครศีรี)
- 83.อยากเกิดเป็นโรงรับจำนำ (กิ๊ฟ ฌานุพงศ์)
- 84.ดั่งนกปีกหัก (นพ นิติพันธ์)
- 85.เพลงเศร้าเขาพนมรุ้ง (คมศร นครศีรี)
- 86.แตงโม (กิ๊ฟ ฌานุพงศ์)
- 87.รักคนหน้างอ (นพ นิติพันธ์)
- 88.นักเพลงจำเป็น (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 89.ข้าวเกรียบเพลงเก่า (คมศร นครศีรี)
- 90.เพียงเศษดิน (คมศร นครศีรี)
- 91.รักแท้แพ้ปาเจโร (คมศร นครศีรี)
- 92.ขันหมากเมืองเพชร (คมศร นครศีรี)
- 93.ลำพญาที่รัก (คมศร นครศีรี)
- 94.คนลืมบ้าน (สุนารี ราชสีมา)
- 95.ใจแตกที่แมคโดนัลด์ (สุนารี ราชสีมา)
- 96.อยากเล่นการเมือง (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 97.รักจริงให้ติงนัง (รุ่ง สุริยา / รีมิกซ์ไทย / รีมิกซ์แดนซ์ / ลูกทุ่งปาร์ตี้)
- 98.เทพีคาบาเร่ย์ (รุ่ง สุริยา)
- 99.รักหนีที่เซเว่น (รุ่ง สุริยา)
- 100.หนึ่งสมองสองมือ (เจนภพ จบกระบวนวรรณ / รุ่ง สุริยา)
- 101.สาวกรุง (รุ่ง สุริยา)
- 102.สัญญารักริมปิง (รุ่ง สุริยา)
- 103.หวานตาหวานใจ (รุ่ง สุริยา)
- 104.สวยเตะตา (รุ่ง สุริยา)
- 105.จิ้มจุ่ม (รุ่ง สุริยา)
- 106.รักคุณดอตคอม (รุ่ง สุริยา)
- 107.พ่อ (รุ่ง สุริยา)
- 108.นัดกันวันตรุษจีน (รุ่ง สุริยา)
- 109.หลอกได้หลอกดี (รุ่ง สุริยา)
- 110.หาคู่ (รุ่ง สุริยา)
- 111.เศรษฐีตีนเปล่า (รุ่ง สุริยา)
- 112.รางวัลนักตื๊อ (รุ่ง สุริยา + นุ่น วรนุช วงษ์สวรรค์)
- 113.เพลงรักมือถือ (รุ่ง สุริยา)
- 114.รักร้าวเพราะข้าวหมูแดง (รุ่ง สุริยา)
- 115.น้ำตาครู (รุ่ง สุริยา)
- 116.มณีเมขลา (รุ่ง สุริยา)
- 117.คอยนางฟ้า (รุ่ง สุริยา)
- 118.ปรัชญารัก (รุ่ง สุริยา)
- 119.ลูกผู้ชายร้องไห้ก็เป็น (รุ่ง สุริยา)
- 120.จะรักก็ยังไม่กล้า (ยิ่งใหญ่ อารยะนันท์ / กุ้ง สุธิราช วงศ์เทวัญ / สุระชัย สายชล / รุ่ง สุริยา)
- 121.รักเอื้ออาทร (รุ่ง สุริยา)
- 122.รักคนหน้าเหลี่ยม (รุ่ง สุริยา)
- 123.พระจันทร์ร้องไห้ (รุ่ง สุริยา)
- 124.โปงลางนางลืม (รุ่ง สุริยา)
- 125.ฟ้าสั่งมา (รุ่ง สุริยา)
- 126.รอคืนข้างแรม (รุ่ง สุริยา)
- 127.ธรณีกรรแสง 2551 (รุ่ง สุริยา)
- 128.รอพี่ติงนัง (แก้ว กังสดาล)
- 129.รอรักที่เซเว่น (แก้ว กังสดาล)
- 130.ขอโทษที่ผมมีเมียแล้ว (พร ปิยะโรม)
- 131.ความรักเดลิเวอรี่ (รุ่ง สุริยา)
- 132.ตะละบุ่มบุมบุ๋ม (รุ่ง สุริยา)
- 133.แม่สาวระยอง (รุ่ง สุริยา)
- 134.ถอดหัวใจใส่โค้ก (รุ่ง สุริยา)
- 135.รังจังให้ตังนิง (รุ่ง สุริยา)
- 136.คิดถึงรำวง (รุ่ง สุริยา)
- 137.อยากกลับบ้าน (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 138.หวานใจไร่ชั่งหัวมัน (เจนภพ จบกระบวนวรรณ)
- 139.โลกแตกไม่เป็นไรขอให้ได้รักเธอ (โชคดี แดนดำเนิน)
- 140.อยากตีกลองยาว (ปุ้ย คล้ายจันทร์)
- 141.เวียนเทียนน้ำตา (สุริยา ฟ้าปทุม)
- 142.คำพ่อสอน (โน้ต มหัศจรรย์)
- 143.รักสาวเมืองชลจนหมดหัวใจ (โน้ต มหัศจรรย์)
- 144.จุ๋มจิ๋มประยุกต์ (โน้ต มหัศจรรย์) แต่งร่วมกับ สมเศียร พานทอง
รางวัลและเกียรติยศที่ได้รับ
[แก้]- ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 - 5 ชนะเลิศวาดภาพช้าง จากงานวันเด็กของโรงเรียนรัตนโนภาส อำเภอเมือง นครราชสีมา
- ระดับประถมศึกษาปีที่ 7 ชนะเลิศแต่งบทกวี - สักวา ได้รับรางวัลเป็นมะละกอลูกใหญ่ 1 ลูก จากโรงเรียนวัดแค
(ปัจจุบันคือภัทรญารวิทยา) อำเภอนครชัยศรี นครปฐม
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ม.ศ. 1 - 3 ชนะเลิศคัดลายมือได้เป็นตัวแทนเข้าไปแข่งระดับจังหวัด ตอนนั้นเรียนอยู่โรงเรียนงิ้วรายบุญมีรังสฤษฎิ์
ตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จ. นครปฐม
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ม.ศ. 4 - 5 ชนะเลิศอ่านทำนองเสนาะได้เป็นตัวแทนโรงเรียนเข้าแข่งขันอ่านทำนองเสนาะ
ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ในงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ณ โรงละครแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- ชนะเลิศเรียงความ วันต่อต้านยาเสพติด จัดโดยสำนักงานเยาวชนแห่งชาติ ในงานนิทรรศการต่อต้านยาเสพติด ณ ยิมเนเซี่ยม 1 ภายในสนามกีฬาแห่งชาติปทุมวัน กรุงเทพฯ
- ชนะเลิศเขียนเรียงความปาฐกถา ทั้ง 4 สาขา จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ จากผู้เข้าแข่งขัน ระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ ณ หอประชุมใหญ่กระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพฯ
- ระดับอุดมศึกษาชนะเลิศแต่งบทกวีประกอบภาพยนตร์ต่างประเทศ จากโรงภาพยนตร์ ในเครือสยาม - สกาล่า ได้รางวัลเงินสด 1,000 บาท
- รับรางวัล"สายฟ้าทองคำ" จากงานนักวิทยุและโทรทัศน์ดีเด่น ครั้งที่ 1 ในฐานะ นักจัดรายการวิทยุดีเด่น สาขาเพลงลูกทุ่ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2532
จากสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย , สมาคมนักจัดรายการข่าววิทยุ , สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ โรงละครแห่งชาติ
- รับโล่เกียรติคุณ ในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น ในโอกาสครบรอบ 90 ปี โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2540
- ประกาศเกียรติคุณ ในฐานะนักจัดรายการวิทยุผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ของ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- รับรางวัล "เพชรสยาม" สาขาวิถีชีวิตไทยทางวิทยาการเพลงลูกทุ่ง จากสำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏจันทร์เกษม
- รับรางวัล โล่ห์พระราชทาน จากพระหัตถ์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากผลงานการประพันธ์เพลง "อย่ากลัวจน"
ขับร้องโดย สมมาส ราชสีมา ในโครงการสื่อเพื่อวัฒนธรรม จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ณ ศาลาดุสิตาลัย ในพระบรมมหาราชวัง
- รับโล่เกียรติยศ ในฐานะเป็น ผู้แต่งกายดีเด่นประจำปี 2544 ประเภทส่งเสริมเอกลักษณ์ไทย จากสมาคมช่างตัดเสื้อไทยมอบไว้ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2544
- รับโล่เกียรติบัตร ในฐานะ "คนต้นแบบ" ผู้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมไทยจากสำนักงานคณะกรรมการการ ประถมศึกษาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2544
ณ สถานีโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5
- รับรางวัล "มาลัยทอง" ในฐานะผู้ประพันธ์คำร้องยอดเยี่ยม ประจำปีพุทธศักราช 2544 จากผลงานเพลง "พ่อ" ขับร้องโดย รุ่ง สุริยา
มอบไว้ ณ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2545 จากสถานีวิทยุลูกทุ่งเอฟเอ็ม
- รับรางวัล "บุศบกทองคำ" ในฐานะผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขามนุษยศาสตร์ ด้านการใช้ภาษาไทย ประจำปีพุทธศักราช 2548
ณ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 จากกระทรวงวัฒนธรรม ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- รับรางวัล "มาลัยทอง" ในฐานะผู้ประพันธ์คำร้องยอดเยี่ยม ประจำปีพุทธศักราช 2549 จากผลงานเพลง "พระจันทร์ร้องไห้" ขับร้องโดย รุ่ง สุริยา
มอบไว้ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2550 จากสถานีวิทยุลูกทุ่งเอฟเอ็ม
- รับรางวัล "มาลัยทอง" ในฐานะผู้ประพันธ์เพลงสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม ประจำปีพุทธศักราช 2549 จากผลงานเพลง "พระจันทร์ร้องไห้" ขับร้องโดย รุ่ง สุริยา
มอบไว้ ณ วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2550 จากสถานีวิทยุลูกทุ่งเอฟเอ็ม
- รับเกียรติบัตรยกย่องในฐานะ "พ่อดีเด่น" เนื่องในวโรกาสวันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม 2549
มอบให้ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2549 จากโรงเรียนพาณิชยการราชดำเนิน-ธนบุรี
- รับรางวันยกย่องเชิดชูเกียรติ "ครูผู้สร้างสรรค์ผลงานเพลงไว้ในแผ่นดิน" เจนภพ จบกระบวนวรรณ ในงาน "วันกตัญญูครูเพลง ครั้งที่ 1"
มอบให้ ณ วันที่ 16 มกราคม 2553 จากกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ , สมาคมนักแต่งเพลงแห่งประเทศไทย
- รับรางวัล "ครอบครัวประชาธิปไตย" ของคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตย ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
จาก พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี มอบให้ ณ วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ณ หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์
- ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น พุทธศักราช 2563
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "'เจ้าพ่อเสื้อลายดอก' ลั่นทุกลมหายใจทำเพื่อเพลงลูกทุ่ง เล่ายาวประวัติชีวิตในวัยย่าง 64". มติชน. 2018-04-22. สืบค้นเมื่อ 2023-07-13.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 "ประวัติ เจนภพ จบกระบวนวรรณ". ภาพยนตร์ไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-13. สืบค้นเมื่อ 2023-07-13.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เจนภพ จบกระบวนวรรณ. เพลงลูกทุ่ง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 176 หน้า. ISBN 978-974-8218-83-0
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2498
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอนครชัยศรี
- นักวิชาการจากจังหวัดนครปฐม
- ผู้ให้ความบันเทิงจากจังหวัดนครปฐม
- นักเขียนสารคดีชาวไทย
- คอลัมนิสต์
- นักภาษาศาสตร์ชาวไทย
- นักประวัติศาสตร์ชาวไทย
- นักร้องนักแต่งเพลงชาวไทย
- นักแต่งเพลงลูกทุ่ง
- ดีเจชาวไทย
- นักจัดรายการวิทยุชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม
- บุคคลจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
- อาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ - วารสารศาสตร์ - การสื่อสาร
- บุคคลจากเขตบางกอกใหญ่